หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 โครงงานคอมพิวเตอร์


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 โครงงานคอมพิวเตอร์ เวลา 4 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

โครงงาน
คอมพิวเตอร์

การออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 โครงงานคอมพิวเตอร์

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดช่วงชั้น
พัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ (ง 3.1 ม. 4–6/7)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
นักเรียนจะเข้าใจว่า…
1. องค์ประกอบของโครงงานคอมพิวเตอร์ คือเครื่องมือที่ช่วยบอกลักษณะของโครงงานคอมพิวเตอร์และแยกโครงงานคอมพิวเตอร์ออกจากโครงงานอื่น ๆ
2. โครงงานคอมพิวเตอร์จะต้องมีกระบวนการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีการปฏิบัติงาน การวางแผน การสรุป และการนำเสนองาน
3. การทำโครงงานคอมพิวเตอร์จะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและเป็นขั้นตอน โดยจะกำหนดขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ตามรายละเอียดของโครงงานนั้น ๆ คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
– องค์ประกอบของโครงงานคอมพิวเตอร์
คืออะไร
– องค์ประกอบของโครงงานคอมพิวเตอร์
มีประโยชน์อย่างไร
– โครงงานคอมพิวเตอร์ทุกโครงงานจะต้อง
มีการแบ่งขั้นตอนในการทำงานเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
– การทำโครงงานคอมพิวเตอร์มีลักษณะอย่างไร
ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะรู้ว่า…
1. คำที่ควรรู้ ได้แก่ อักษรเบรลล์ ไฮเปอร์เท็กซ์ เว็บไซต์ทางการศึกษา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. โครงงานคอมพิวเตอร์จะต้องมีกระบวนการทำงานเกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้คอมพิวเตอร์หรือเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. โครงงานคอมพิวเตอร์จะต้องไม่มีผู้เคยกระทำไว้แล้ว หรือจะต้องเป็นการโครงงานที่มีการพัฒนามาจากโครงงานคอมพิวเตอร์เดิม
4. โครงงานคอมพิวเตอร์จะต้องมีการปฏิบัติงานจริง และมีการวางแผน การสรุป และการนำเสนอผลงานที่ได้จากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
5. การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ผู้ทำจะต้องเลือกโครงงาน ศึกษาค้นคว้า จัดทำโครงร่าง ทำโครงงาน ทำรายงาน และนำเสนอผลงาน ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะสามารถ…
1. อธิบายองค์ประกอบและขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ได้
2. ยกตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ได้
3. มีความคิดสร้างสรรค์และเลือกทำโครงงานคอมพิวเตอร์อย่างมีจิตสำนึก
4. อธิบายและนำเสนอโครงร่างของโครงงานคอมพิวเตอร์ได้
5. จัดทำโครงร่างของโครงงานคอมพิวเตอร์ได้

ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– สรุปข้อมูลมาสร้างเป็นแผนผังโครงงานคอมพิวเตอร์
– วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น และเลือกหัวข้อโครงงานตามองค์ประกอบของโครงงานคอมพิวเตอร์
– นำเสนอหัวข้อโครงงานคอมพิวเตอร์
– ตั้งข้อสังเกตและเปรียบเทียบระหว่างความรู้พื้นฐานหรือข้อมูลเดิมกับข้อมูลใหม่
– จัดทำโครงร่างของโครงงานคอมพิวเตอร์
2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
2.1 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
– การอภิปรายและการตอบคำถาม
– การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
– การทดสอบ
– การฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน
– การประเมินตนเองของนักเรียน 2.2 เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– แบบบันทึกผลการอภิปราย
– แบบประเมินผลงาน
– แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู้
– ใบงาน
– แบบประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม
– แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลที่ได้จากการการนำเสนอข้อมูลของผู้อื่น
– มีความรับผิดชอบ ความละเอียดรอบคอบ และความคิดสร้างสรรค์
– ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
– จิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติ
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15 องค์ประกอบและขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ 2 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16 ตัวอย่างการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ 2 ชั่วโมง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 อินเทอร์เน็ต


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 อินเทอร์เน็ต เวลา 6 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

อินเทอร์เน็ต

การออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 อินเทอร์เน็ต
ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดช่วงชั้น
ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต (ง 3.1 ม. 4–6/9)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
นักเรียนจะเข้าใจว่า…
1. เว็บเบราว์เซอร์เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้สื่อสารระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับข้อมูลที่จัดเก็บบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้เว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตได้โดยที่ไม่ต้องเรียนภาษา HTML ก่อน
2. IE คือ เว็บเบราว์เซอร์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับโปรแกรมระบบของบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งนิยมใช้กันในปัจจุบัน
3. การใช้งานอินเทอร์เน็ตจะช่วยส่งเสริมด้านการศึกษา ธุรกิจ และการสื่อสารของมนุษย์ ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสบายและประหยัดต้นทุนในการดำเนินการ คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
– เว็บเบราว์เซอร์คืออะไร
– ผู้ใช้เว็บเบราว์เซอร์ต้องมีความรู้ในด้านใด
– ถ้าไม่มีเว็บเบราว์เซอร์จะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่ อย่างไร
– IE คืออะไร เกี่ยวข้องกับเว็บเบราว์เซอร์และอินเทอร์เน็ตหรือไม่ อย่างไร
– เหตุใด IE จึงนิยมใช้ในปัจจุบัน
– การใช้งานอินเทอร์เน็ตช่วยส่งเสริมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในด้านใด อย่างไร
ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะรู้ว่า…
1. คำที่ควรรู้ ได้แก่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สายนำสัญญาณ การ์ดแลน โมเด็ม บริษัทแอปเปิ้ล ฟรีโปรแกรม บริษัทกูเกิล บริษัทไมโครซอฟท์ ออนไลน์ ยูอาร์แอล เซิร์ฟเวอร์ ไคลเอนต์ โพรโทคอล
2. IE คือ เว็บเบราว์เซอร์ที่ช่วยให้สามารถเรียกใช้เว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ตได้
3. การใช้งาน IE ผู้ใช้ควรมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม การเรียกใช้ IE การเปิดเว็บไซต์ การใช้ปุ่มคำสั่งการใช้งาน และการตั้งค่าอื่น ๆ ในโปรแกรม
4. อินเทอร์เน็ตช่วยส่งเสริมการศึกษาด้วยการค้นหาข้อมูลจากบริการของ Search Engine
5. อินเทอร์เน็ตช่วยส่งเสริมด้านธุรกิจด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
6. อินเทอร์เน็ตช่วยส่งเสริมการติดต่อสื่อสารด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นการสื่อสารด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการสนทนาออนไลน์ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสาร ณ เวลานั้น ๆ แบบ Real Time

7. อินเทอร์เน็ตช่วยทำให้การส่งข้อมูลสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งเสริมการทำงานในทุก ๆ ด้านด้วยการขนถ่ายไฟล์ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะสามารถ…
1. อธิบายความหมายและลักษณะของเว็บ-
เบราว์เซอร์ได้
2. อธิบายหลักการใช้งานเว็บเบราว์เซอร์และอินเทอร์เน็ตได้
3. อธิบายและสาธิตเทคนิคในการใช้งานเว็บ-
เบราว์เซอร์
4 มีทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยคอมพิวเตอร์
5. ใช้เว็บเบราว์เซอร์และอินเทอร์เน็ตโดยคำนึงถึงมารยาทและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้อื่น
ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– ค้นหาข้อมูล อธิบาย และสาธิตวิธีการใช้งานเว็บเบราว์เซอร์
– สาธิตการใช้งานอินเทอร์เน็ต
– แสดงความคิดเห็น ถาม และตอบคำถามเกี่ยวกับเว็บเบราว์เซอร์และการใช้งานอินเทอร์เน็ต
– ใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลเพื่อเรียกใช้งานเว็บเบราว์เซอร์และอินเทอร์เน็ต
2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
2.1 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
– การอภิปรายและการตอบคำถาม
– การสาธิตหน้าชั้นเรียน
– การทดสอบ
– การฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน
– การประเมินตนเองของนักเรียน 2.2 เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– แบบบันทึกผลการอภิปราย
– แบบประเมินผลงาน
– แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู้
– ใบงาน
– แบบประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม
– แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการอธิบายและการสาธิตงาน
– ความสามารถในการตั้งคำถามและตอบคำถาม
– ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลที่ได้จากการค้นหา
– ความสามารถในการค้นหาข้อมูล
– การมีความรับผิดชอบ ความขยัน ความรอบคอบ และมีมารยาทในการทำงาน
– การมีมารยาทในการปฏิบัติงาน
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13 เว็บเบราว์เซอร์ 4 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14 การใช้งานอินเทอร์เน็ต 2 ชั่วโมง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เวลา 8 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

การนำเสนองานด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศ

การออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การนำเสนองานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดช่วงชั้น
1. ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน (ง 3.1 ม. 4–6/8)
2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน (ง 3.1 ม. 4–6/11)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
นักเรียนจะเข้าใจว่า…
1. การนำเสนอข้อมูล คือ การสื่อสารข้อมูลหรือการส่งข้อมูลจากผู้นำเสนอข้อมูลไปสู่ผู้รับข้อมูลด้วยวิธีการหรือสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้นำเสนอข้อมูล
2. การนำเสนอข้อมูลที่ดีควรเลือกใช้รูปแบบของข้อมูลและสื่อหรืออุปกรณ์ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลให้เหมาะสม
3. การนำเสนองานเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้อื่นรู้ข้อมูลเกี่ยวกับงานหรือกระบวนการทำงานนั้น ๆ
4. การนำเสนองานที่ดีควรเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับลักษณะของงาน หรือลักษณะของข้อมูล
5. Microsoft PowerPoint คือ โปรแกรมช่วยสร้างงานนำเสนอ คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
– การนำเสนอข้อมูลคืออะไร
– การนำเสนอข้อมูลที่ดีควรเลือกนำเสนอข้อมูลในรูปแบบใด
– การนำเสนองานคืออะไร
– การนำเสนองานที่ดีควรเลือกนำเสนอรูปแบบใด
– Microsoft PowerPoint เกี่ยวข้องกับการนำเสนองานอย่างไร
ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะรู้ว่า…
1. คำที่ควรรู้ ได้แก่ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
พาโนรามา จุดเชื่อมโยง อัปโหลด
2. การนำเสนอข้อมูลที่ดีควรมีข้อมูลในรูปแบบตัวหนังสือหรือตัวอักษร รูปภาพหรือภาพนิ่ง แผนภูมิ แผนผัง กราฟ เสียง และภาพเคลื่อนไหวประกอบกันเพื่อช่วยสร้างความน่าสนใจและส่งเสริมความเข้าใจและการเรียนรู้ของผู้รับข้อมูล
3. สื่อหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ช่วยในการนำเสนอข้อมูลให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจยิ่งขึ้น
4. การนำเสนองานสามารถกระทำได้หลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะมีลักษณะจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน ผู้นำเสนองานจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับงานและความต้องการของตนเอง
5. Microsoft PowerPoint สามารถนำเสนองานได้ทั้งรูปแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์ มัลติมีเดีย และเว็บไซต์ ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะสามารถ…
1. อธิบายและวิเคราะห์รูปแบบของข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลได้
2. เลือกรูปแบบของข้อมูลและรูปแบบของการนำเสนองานได้อย่างเหมาะสม
3. ยกตัวอย่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้
4. ค้นหาและปฏิบัติตามข้อมูลที่ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. อธิบายวิธีการสร้างงานนำเสนอจาก Microsoft PowerPoint ได้
6. สร้างงานนำเสนอจาก Microsoft PowerPoint ได้

ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– การนำเสนอข้อมูลด้วยการพูดหน้าชั้นเรียน
– การวิเคราะห์การนำเสนอข้อมูลลงในตาราง
– ยกตัวอย่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูล
– การค้นหาข้อมูลจากการใช้เอกสารสิ่งพิมพ์ มัลติมีเดีย และเว็บไซต์
– การอธิบายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการนำเสนองานในแต่ละรูปแบบ
– สร้างและประเมินการสร้างงานนำเสนอจาก Microsoft PowerPoint
2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
2.1 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
– การอภิปราย การแสดงความคิดเห็น และการตอบคำถาม
– การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
– การทดสอบ
– การฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน
– การประเมินตนเองของนักเรียน 2.2 เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– แบบบันทึกผลการอภิปราย
– แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
– แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู้
– ใบงาน
– แบบประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม
– แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการอธิบายและนำเสนอข้อมูล
– ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลที่ได้จากการค้นหา
– พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
– การมีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความละเอียดรอบคอบ และมีจิตสำนึกในการสร้างงาน
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 ลักษณะของการนำเสนอข้อมูล 2 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 รูปแบบของการนำเสนองาน 2 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12 ตัวอย่างการสร้างงานนำเสนอ 4 ชั่วโมง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 โปรแกรมคอมพิวเตอร์


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เวลา 10 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

การออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดช่วงชั้น
เขียนโปรแกรมภาษา (ง 3.1 ม. 4–6/6)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
นักเรียนจะเข้าใจว่า…
1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ องค์ประกอบสำคัญที่จะต้องใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ
2. ภาษาคอมพิวเตอร์ คือ ภาษาที่ใช้สร้างชุดคำสั่ง เพื่อใช้ชุดคำสั่งดังกล่าวเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งประเภทตามลักษณะของภาษาและการใช้งานภาษาคอมพิวเตอร์นั้น ๆ
3. ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์มักเป็นภาษาระดับสูงเนื่องจากมีให้เลือกหลากหลายและมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง
4. ภาษา HTML เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจ คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
– โปรแกรมคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร
– ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร
– ภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างไร
– ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้หรือไม่ อย่างไร
– ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
– ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทใด เพราะเหตุใด
– ภาษา HTML ใช้สำหรับสร้างโปรแกรมประเภทใด
ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะรู้ว่า…
1. คำที่ควรรู้ ได้แก่ โปรแกรมเมอร์ โปรแกรมต้นฉบับ เว็บเพจ เวิร์ดโพรเซสเซอร์ เว็บไซต์ ไอคอน
2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ ชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงและสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับขั้นตอนที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งสร้างขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ตามขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรม
3. ภาษาคอมพิวเตอร์มีพื้นฐานมาจากระบบเลขฐานสอง โดยแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลี ภาษาระดับสูง และภาษาระดับสูงมาก
4. ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี ภาษาโคบอล ภาษาฟอร์แทรน ภาษาซีพลัสพลัส และภาษาจาวา
5. ภาษา HTML เป็นภาษาระดับสูงที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูลบนเว็บเพจ โดยจะต้องเขียนคำสั่งภายในเครื่องหมายแท็กด้วยโปรแกรมเอดิเตอร์ แล้วนำเสนอผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะสามารถ…
1. อธิบายความหมายและลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
2. อธิบายลักษณะ ข้อดี และข้อเสียของภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละประเภทได้
3. ยกตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ได้
4. ค้นหาและสรุปข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจกรรมได้
5. สร้างผลงานจากภาษาคอมพิวเตอร์อย่างสร้างสรรค์และมีจิตสำนึก
6. ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้

ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– อธิบายและสร้างแผนผังความคิดตามลำดับขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรม
– สรุปข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ ข้อดี และข้อเสียของภาษาคอมพิวเตอร์ลงในตาราง
– นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์
– ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์
– เขียนภาษา HTML เพื่อสร้างเว็บเพจ
2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
2.1 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
– การอภิปราย การแสดงความคิดเห็น
และการตอบคำถาม
– การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
– การทดสอบ
– การฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน
– การประเมินตนเองของนักเรียน 2.2 เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– แบบบันทึกผลการอภิปราย
– แบบประเมินผลงาน
– แบบบันทึกความรู้
– แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู้
– ใบงาน
– แบบประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม
– แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการอธิบายความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ
– การทำงานตามกระบวนการ
– การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยความระมัดระวังและรู้คุณค่า
– พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
– การมีความรับผิดชอบ ความรอบคอบ และความคิดสร้างสรรค์
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 ความหมายและลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์ 2 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ 2 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 4 ชั่วโมง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ เวลา 8 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

กระบวนการเทคโนโลยี
สารสนเทศ

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดช่วงชั้น
แก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ (ง 3.1 ม. 4–6/5)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
นักเรียนจะเข้าใจว่า…
1. กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล
2. กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องตรงต่อจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ การออกแบบกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกเครื่องมือ การตรวจสอบ และปรับปรุงกระบวนการอย่างมีระบบ
3. กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติจากผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จึงต้องมีการถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม
4. การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึมที่นิยมใช้ในปัจจุบันตามหลักสากลแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ การเขียนรหัสจำลองและการเขียนผังงาน คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
– กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงอะไร
– กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์อย่างไร
– กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร
– อัลกอริทึมหมายถึงอะไร และเกี่ยวข้องกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร
– การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึมสามารถทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะรู้ว่า…
1. คำที่ควรรู้ ได้แก่ กระบวนการ การประมวลผล อัลกอริทึม ทรัพยากร ตัวแปร โมดูล รหัสจำลอง
ผังงาน ภาษาคอมพิวเตอร์ โปรแกรม สัญลักษณ์
2. กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศมีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอน การดำเนินการแก้ปัญหา และการตรวจสอบและปรับปรุง
3. การถ่ายทอดความคิดด้วยการเขียนรหัสจำลองจะมีลักษณะคล้ายภาษาคอมพิวเตอร์โดยจะกำหนดตัวแปลและใช้ข้อความเป็นประโยคภาษาอังกฤษแทนการอธิบายขั้นตอนการทำงาน
4. การถ่ายทอดความคิดด้วยการเขียนผังงานจะมีลักษณะเป็นแผนภาพแทนทิศทางการไหลของข้อมูลหรือขั้นตอนการทำงานด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะสามารถ…
1. อธิบายวิธีการวิเคราะห์ เลือกเครื่องมือ ออกแบบขั้นตอน ดำเนินการแก้ปัญหา ตรวจสอบ และปรับปรุงกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. เห็นประโยชน์ของกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
3. อธิบายวิธีการถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึมได้
4. มีทักษะในการออกแบบกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
5. มีทักษะในการถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม

ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– ยกตัวอย่างปัญหาที่พบในชีวิตประจำวันที่สามารถใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหา
– ออกแบบกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศจากปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน
– วิเคราะห์และสร้างตารางการวิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
– วิเคราะห์และสร้างตารางการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
– แสดงบทบาทสมมุติเพื่อถ่ายทอดความคิดในการดำเนินการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยี
สารสนเทศ
– ตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
– ถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยการเขียนรหัสจำลอง
– ถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยการเขียนผังงาน
2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
2.1 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
– การอภิปราย การแสดงความคิดเห็น
และตอบคำถาม
– การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
– การทดสอบ
– การฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน
– การประเมินตนเองของนักเรียน 2.2 เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– แบบบันทึกผลการอภิปราย
– แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
– แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู้
– ใบงาน
– แบบประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม
– แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการอธิบายและนำเสนอข้อมูล
– ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม
– พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
– การมีความรับผิดชอบ มีความรอบคอบ และมีมารยาทในการทำงาน
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความหมายและขั้นตอนการแก้ปัญหา (การวิเคราะห์ 2 ชั่วโมง
และกำหนดรายละเอียดของปัญหา)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอน 1 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 การดำเนินการแก้ปัญหา การตรวจสอบ และปรับปรุง 1 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม 2 ชั่วโมง
(การเขียนรหัสจำลอง)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 การเขียนผังงาน 2 ชั่วโมง

บทเพลงเกี่ยวกับวันแม่


นักเรียนชั้น ม.6/1รายงานตัว


ให้นักเรียนชั้นม.6/1 ทุกคนรายงานตัว โดยกรอกข้อมูลในเอกสาร google Docs

 

นักเรียน ม.6/1 คลิกเมาส์เพื่อกรอกข้อมูลครับ 10 คะแนน

Shared from ShareSWF.com – Upload & Share your Flash Animations


Shared from ShareSWF.com – Upload & Share your Flash Animations


แบบทดสอบเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้นครับ